กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
<center><table width=90% border=0 bgcolor=#000080><tr><td><font color=white size=4>ไอทีในชีวิตประจำวัน # 287 ทิศทางใหม่สำหรับผู้บริหารระดับสูง</td></tr></table><table width=90% bordercolor=#000080 border=1><tr><td bgcolor=white><br>ไอทีในชีวิตประจำวัน # 287 ทิศทางใหม่สำหรับผู้บริหารระดับสูง ()<br /> มีโอกาสฟังบรรยาย และอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวคิด GRC (Governance, Risk and Compliance) ของ อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยสารสนเทศ พบว่าบุคลากรที่ควรเข้าใจเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกคือผู้บริหาร ซึ่งประเด็นที่ควรให้ความสำคัญมี 3 เสาหลัก คือการกำกับดูแล การจัดการความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับกฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเริ่มมีผลบังคับใช้<br /> แนวคิด GRC ต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงสุดเป็นคนแรก และเป็นความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการบริหาร (Board of Director) ที่มีหน้าที่ดำเนินการ 3 องค์ประกอบนี้ให้สัมพันธ์ สอดคล้อง แบ่งปันข้อมูล ทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมจากทุกระดับ และสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอ โดยนิยามได้ดังนี้ 1) Governance หมายถึง การกำกับดูแลนโยบาย วัฒนธรรมองค์กร กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดออกมาอย่างชัดเจนในการบริหารจัดการ และกำกับดูแลองค์กรโดยผู้บริหารระดับสูง 2) Risk Management หมายถึง การบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีเป้าหมายในการลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในองค์กร 3) Compliance หมายถึง การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ และกฎหมาย ตลอดจนการปฏิบัติตามนโยบายด้านสารสนเทศและความปลอดภัยขององค์กรอย่างถูกต้องได้ตามมาตรฐาน<br /> กฎหมายด้านเทคโนโลยีที่เริ่มประกาศใช้แล้วนั้น เป็นความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องเข้าใจ และให้ความสำคัญ ดังนั้นแนวคิด GRC จึงมีองค์ประกอบให้องค์กรใช้พิจารณา และปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง มีตัวอย่างกฎหมายด้านเทคโนโลยี ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๔ 2) พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ.๒๕๔๙ ประกาศ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ 3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ 4) หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ การเป็นคนไทยต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทย มีข้อพึงระวังคือ ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด<br /> <br><br></td></tr><tr><td align=right bgcolor=black><font color=white><small><b>จากคุณ :</b> บุรินทร์ <a href=mailto:></a><a title='118.172.104.96'>.</a><br> 10:24pm (2/04/11)</font></td></tr></table></center>